สังคมไทยเป็นสังคมเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน สังคมไทยในอดีตเป็นสังคมที่มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย รักความสงบ อยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ และรู้จักช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน มีประเพณีและวัฒนธรรมที่ดีงาม แต่ในปัจจุบันสิ่งเหล่านี้ได้ลดน้อยลงไป คนไทยให้ความสำคัญกับวัตถุและความทันสมัยทางด้านเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น ความเสื่อมทางด้านศีลธรรมจึงเกิดขึ้นแพร่หลายทั่วไป ส่งผลกระทบต่อสังคมไทยเป็นอย่างยิ่งก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมามากมาย และนับวันปัญหาดังกล่าวยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น
สิ่งหนึ่งที่จะช่วยทำให้สังคมไทยมีความสงบสุขและมีสันติสุข คือ คนไทยทุกคนต้องปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย ซึ่งการปฏิบัติเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยในสังคมไทยมีดังนี้
1. การปฏิบัติตัวเป็นพลเมืองดีในครอบครัว ครอบครัวประกอบด้วยบุคคลหลัก ๆ คือ บิดามารดาและบุตรธิดา การที่ครอบครัวจะมีความสุข สมาชิกภายในครอบครัวต้องปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ทำดีต่อกัน คือ บิดามารดาควรปฏิบัติต่อบุตรโดยเลี้ยงดู อบรมสั่งสอนให้ทำสิ่งที่ถูกต้องตามหลักศีลธรรมไม่ให้ประพฤติชั่ว ส่งเสียให้เล่าเรียน สอนมารยาทที่ดีงามในสังคม ไม่ลงโทษโดยใช้ความรุนแรง เป็นต้น ในขณะเดียวกันบุตรพึงปฏิบัติต่อบิดามารดาโดย มีความกตัญญูกตเวที เลี้ยงดูบิดามารดา ช่วยกิจการของครอบครัว ประพฤติตนเป็นคนดี เป็นต้น นอกจากนี้สามีและภรรยาควรปฏิบัติตนให้เหมาะสมต่อกัน โดยยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน เคารพและซื่อสัตย์ไม่นอกใจ รู้จักขยันใช้จ่ายอย่างประหยัด มีเหตุผลและมีความเข้าใจกัน
2. การปฏิบัติตัวเป็นพลเมืองดีในโรงเรียน สมาชิกในโรงเรียนประกอบด้วย ครู ลูกศิษย์ เพื่อน ๆ เป็นต้น ซึ่งสมาชิกที่ดีต้องปฏิบัติตนต่อกัน โดยครูมีหน้าที่อบรมสั่งสอนวิชาความรู้ กิริยามารยาทต่าง ๆ ให้แก่ศิษย์ให้เป็นคนเก่ง คนดี นอกจากนี้ยังต้องปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีเมตตา มีความยุติธรรมปฏิบัติตนต่อลูกศิษย์ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ส่วนลูกศิษย์ควรปฏิบัติต่อครูโดยประพฤติตนเป้ฯคนว่านอนสอนง่าย มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ขยันตั้งใจเรียน มีความกตัญญูกตเวที ไม่ลบหลู่ดูหมิ่น นอกจากนี้นักเรียนทุกคนควรปฏิบัติต่อกันในฐานะเพื่อนโดยมีน้ำใจเผื่อแผ่ช่วยเหลือกัน มีความรักใคร่สามัคคี ซื่อสัตย์ต่อกัน
3. การปฏิบัติตัวเป็นพลเมืองดีในท้องถิ่นการปฏิบัติตัวเป็นพลเมืองดีในท้องถิ่น เช่น ให้ความร่วมมือในการรักษาความสะอาด และพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ เสียภาษีให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ติดตามดูแลและตรวจสอบการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ช่วยกันอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และร่วมกันป้องกันอาชญากรรมภัยจากสารเสพติด เป็นต้น
4. การปฏิบัติตัวเป็นพลเมืองดีของประเทศการปฏิบัติตัวเป็นพลเมืองดีของประเทศ เช่น ไม่ปฏิบัติตนอันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลอื่น ไม่รวมตัวกันในทางที่ขีดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีงามของประชาชน ธำรงรักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เสียภาษีอาการ และมีส่วนร่วมในหน่วยราชการหรือการป้องกันประเทศ เป็นต้น
วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553
การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยในสังคมโลก
ปัจจุบันสังคมไทยมีการติดต่อกับประเทศต่าง ๆ มากมาย ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม รวมถึงวิทยาการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างประเทศและมุ่งสร้างประโยชน์และสิ่งดี ๆ ให้แก่สังคมโลก ลดปัญหาต่าง ๆ ที่มาพร้อมกับความทันสมัยของโลกให้น้อยลง ด้วยเหตุนี้สังคมไทยและสังคมนานาประเทศจำเป็นต้องมีบรรทัดฐานที่ดีในการปฏิบัติต่อกัน
การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยในวังคมโลก เช่น
1. การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก ปัจจุบันสิ่งแวดล้อมของโลกกำลังอยู่ในภาวะวิกฤติ โดยมีสิ่งบอกเหตุที่สำคัญ เช่น โลกเริ่มร้อนขึ้น มีสารพิษปนเปื้อนในมหาสมุทร เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบต่อประเทศต่าง ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จำเป็นที่ประเทศต่าง ๆ ต้องเข้ามาช่วยกันป้องกันและแก้ไข
2. การรณรงค์ให้ตระหนักเกี่ยวกับอาหารดัดแปลงพันธุกรรมจากพืชและสัตว์ การที่ดัดแปลงพันธุกรรมเป็นการนำพันธุกรรมจากเซลล์สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง (พืช สัตว์ จุลินทรีย์ ฯลฯ) ไปใส่ในสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง โดยใช้กระบวนการตัดแต่งทางพันธุกรรม เพื่อสร้างสิ่งมีชีวิตใหม่ขึ้นมาโยไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ซึ่งเทคโนโลยีในด้านนี้ได้มีการค้นพบผลเสียต่าง ๆ มากกว่าผลดี ดังนั้นประชาคมโลกจึงควรมีการรณรงค์ให้มีการตรวจสอบข้อมูลที่แท้จริง เพื่อป้องกันปัญหาในด้านต่าง ๆ ที่จะตามมา
3. การต่อต้านสารเสพติด ปัญหาสารเสพติดเป็นปัญหาระดับโลกที่สร้างความเสียหายทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และปัญหาอื่น ๆ มากมาย ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อความสงบเรียบร้อย และความปลอดภัยในชีวิต ดังนั้นทุกประเทศควรเข้ามาช่วยกันแก้ไข
4. การต่อต้านการสูบบุหรี่ บุหรี่ถือเป็นสารเสพติดชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสาธารณสุขของประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทยด้วย ผลจากการวิจัยพบว่า ร้อยละ 90 ของผู้เป็นมะเร็งปอดและร้อยละ 80 ของผู้ป่วยโรคหลอดลมอักเสบมาจากผู้สูบบุหรี่ และนอกจากนี้ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่แต่ได้รับควันบุหรี่จากผู้ที่สูบบุหรี่มีอัตราที่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าวมากขึ้นด้วย ดังนั้นประเทศต่าง ๆ ควรตระหนักถึงปัญหานี้ และร่วมมือกันต่อต้านการสูบบุหรี่
5. การรณรงค์เพื่อป้องกันโรคเอดส์ ปัญหาโรคเอดส์เป็นปัญหาระดับโลก เพราะเป็นโรคติดต่อที่เกิดขึ้นทั่วโลก และมีอัตราผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นพลเมืองทุกประเทศจึงมีการรณรงค์เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ และรณรงค์ให้คนในสังคมมีความเห็นอกเห็นใจ ช่วยเหลือผู้ที่ติดเชื้อเอดส์ให้สามารถอยู่ร่วมในสังคมอย่างปกติสุขได้
การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยในวังคมโลก เช่น
1. การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก ปัจจุบันสิ่งแวดล้อมของโลกกำลังอยู่ในภาวะวิกฤติ โดยมีสิ่งบอกเหตุที่สำคัญ เช่น โลกเริ่มร้อนขึ้น มีสารพิษปนเปื้อนในมหาสมุทร เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบต่อประเทศต่าง ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จำเป็นที่ประเทศต่าง ๆ ต้องเข้ามาช่วยกันป้องกันและแก้ไข
2. การรณรงค์ให้ตระหนักเกี่ยวกับอาหารดัดแปลงพันธุกรรมจากพืชและสัตว์ การที่ดัดแปลงพันธุกรรมเป็นการนำพันธุกรรมจากเซลล์สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง (พืช สัตว์ จุลินทรีย์ ฯลฯ) ไปใส่ในสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง โดยใช้กระบวนการตัดแต่งทางพันธุกรรม เพื่อสร้างสิ่งมีชีวิตใหม่ขึ้นมาโยไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ซึ่งเทคโนโลยีในด้านนี้ได้มีการค้นพบผลเสียต่าง ๆ มากกว่าผลดี ดังนั้นประชาคมโลกจึงควรมีการรณรงค์ให้มีการตรวจสอบข้อมูลที่แท้จริง เพื่อป้องกันปัญหาในด้านต่าง ๆ ที่จะตามมา
3. การต่อต้านสารเสพติด ปัญหาสารเสพติดเป็นปัญหาระดับโลกที่สร้างความเสียหายทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และปัญหาอื่น ๆ มากมาย ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อความสงบเรียบร้อย และความปลอดภัยในชีวิต ดังนั้นทุกประเทศควรเข้ามาช่วยกันแก้ไข
4. การต่อต้านการสูบบุหรี่ บุหรี่ถือเป็นสารเสพติดชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสาธารณสุขของประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทยด้วย ผลจากการวิจัยพบว่า ร้อยละ 90 ของผู้เป็นมะเร็งปอดและร้อยละ 80 ของผู้ป่วยโรคหลอดลมอักเสบมาจากผู้สูบบุหรี่ และนอกจากนี้ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่แต่ได้รับควันบุหรี่จากผู้ที่สูบบุหรี่มีอัตราที่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าวมากขึ้นด้วย ดังนั้นประเทศต่าง ๆ ควรตระหนักถึงปัญหานี้ และร่วมมือกันต่อต้านการสูบบุหรี่
5. การรณรงค์เพื่อป้องกันโรคเอดส์ ปัญหาโรคเอดส์เป็นปัญหาระดับโลก เพราะเป็นโรคติดต่อที่เกิดขึ้นทั่วโลก และมีอัตราผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นพลเมืองทุกประเทศจึงมีการรณรงค์เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ และรณรงค์ให้คนในสังคมมีความเห็นอกเห็นใจ ช่วยเหลือผู้ที่ติดเชื้อเอดส์ให้สามารถอยู่ร่วมในสังคมอย่างปกติสุขได้
การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขตามหลักธรรมของศาสนาในสังคมโลก
ในปัจจุบันปัญหาความรุนแรงกำลังแพร่กระจายไปทั่วโลก ซึ่งปัญหานี้ก่อให้เกิดความขัดแย้งนำไปสู่การทำลายล้างกันเกิดขึ้น โดยมีความพยายามที่จะนำเอาศาสนาเข้ามาเป็นเครื่องมือเพื่อสร้างความชอบธรรมในการกระทำของตนอีกด้วย เช่น ความรุนแรงในอินเดียระหว่างศาสนาอิสลามกับฮินดู ความรุนแรงในอิรักระหว่างศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ กับนิกายชุนนี หรือความพยายามจะนำศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อกับความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกากับกลุ่มอัลเคดา เป็นต้น
การที่จะลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ ได้ ทุกคนในสังคมโลกต้องปฏิบัติตนตามแนวทางคุณธรรมในศาสนาที่ตนนับถือพระพุทธศาสนา สอนหลักธรรมเรื่องไตรลักษณ์ คือ กฎธรรมชาติ 3 ป ระการ ซึ่งเกิดแก่ทุกคนและทุกสิ่งเป็นธรรมดาเหมือนกัน ได้แก่ อนิจจัง (ความไม่เที่ยง) ทุกขัง (ความทุกข์) และอนัตตา (ความไม่มีตัวตนที่แท้จริง) ความเข้าใจในหลักธรรมนี้จะทำให้คนตั้งมั่นอยู่ในความไม่ประมาท มีการปล่อยวางไม่เห็นแก่ตัว สอนหลักธรรมอริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐประกอบด้วย ทุกข์ (ปัญหาต่าง ๆ) สมุทัย (สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา) นิโรธ (การแก้ปัญหา) และมรรค (ทางปฏิบัติเพื่อให้เห็นถึงวิธีการแก้ปัญหา) ความเข้าใจเรื่องอริยสัจ 4 จะทำให้บุคคลแก้ปัญหาอย่างสันติ แก้ปัญหาอย่างถูกวิธี ไม่ใช้ความรุนแรง เป็นต้น
ศาสนาอิสลาม สอนหลักธรรมเรื่องการบริจาคทาน (ชะกาต) เพื่อการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือสังคม การถือศีลอดในเดือนเราะมะเพื่อฝึกฝนความอดทนและความยับยั้งชั่งใจ ซึ่งคำสอนในศาสนาอิสลามประกอบด้วยศรัทธาที่เรียบง่าย มีเหตุมีผล สอนให้มนุษย์ชำระล้างจิตให้สะอาดบริสุทธิ์ รักสันติสุข มีเมตตาต่อกัน เป็นต้น
ศาสนาคริสต์ สอนหลักธรรมเรื่องหลักบัญญัติ 10 ป ระการ เช่น สอนให้นับถือบิดามารดา อย่าฆ่าคน อย่างล่วงประเวณี อย่าคิดโลภ เป็นต้น สอนเรื่องหลักความรัก เช่น จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตัวเราเอง เป็นต้น ศาสนาคริสต์สอนให้บุคคลมีจิตสำนึกอันบริสุทธิ์หลีกเลี่ยงอบายมุขไม่ทำบาป ไม่โกรธ และเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นต้น
ศาสนาฮินดู สอนหลักธรรมเรื่องอาศรม 4 เพื่อเป็นแนวทางดำเนินชีวิต ได้แก่ พรหมจารี (การศึกษาและแสวงหาความรู้) คฤหัสถ์ (หลักการครองเรือน) วานปรัสถ์ (การศึกษา สันยาสี (การออกบวชเพื่อหลุดพ้น) ศาสนาฮินดูสอนให้รักสันติภาพไม่ใช้ความรุนแรง ไม่ทำร้ายกัน ให้กระทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อเพื่อมนุษย์ เป็นต้น
ศาสนาสิกข์ สอนหลักธรรมเรื่องวิญญาณเป็นอมตะนิรันดร ถ้าบุคคลใดต้องการหลุดพ้นจากความทุกข์และไม่เวียนว่ายตายเกิดอีก ก็ต้องชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์ และสอนว่ามนุษย์ทุกคนมีความเสมอภาคกัน เป็นต้น
จะเห็นว่าศาสนาทุกศาสนามีหลักคำสอนที่เป็นแนวเดียวกันคือ ต้องการให้ทุกคนเป็นคนดี ทำแต่สิ่งดีงาม แสวงหาสันติสุข รักความสงบ ดังนั้นไม่ว่าใครจะนับถือศาสนาใดก็ตามสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
การที่จะลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ ได้ ทุกคนในสังคมโลกต้องปฏิบัติตนตามแนวทางคุณธรรมในศาสนาที่ตนนับถือพระพุทธศาสนา สอนหลักธรรมเรื่องไตรลักษณ์ คือ กฎธรรมชาติ 3 ป ระการ ซึ่งเกิดแก่ทุกคนและทุกสิ่งเป็นธรรมดาเหมือนกัน ได้แก่ อนิจจัง (ความไม่เที่ยง) ทุกขัง (ความทุกข์) และอนัตตา (ความไม่มีตัวตนที่แท้จริง) ความเข้าใจในหลักธรรมนี้จะทำให้คนตั้งมั่นอยู่ในความไม่ประมาท มีการปล่อยวางไม่เห็นแก่ตัว สอนหลักธรรมอริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐประกอบด้วย ทุกข์ (ปัญหาต่าง ๆ) สมุทัย (สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา) นิโรธ (การแก้ปัญหา) และมรรค (ทางปฏิบัติเพื่อให้เห็นถึงวิธีการแก้ปัญหา) ความเข้าใจเรื่องอริยสัจ 4 จะทำให้บุคคลแก้ปัญหาอย่างสันติ แก้ปัญหาอย่างถูกวิธี ไม่ใช้ความรุนแรง เป็นต้น
ศาสนาอิสลาม สอนหลักธรรมเรื่องการบริจาคทาน (ชะกาต) เพื่อการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือสังคม การถือศีลอดในเดือนเราะมะเพื่อฝึกฝนความอดทนและความยับยั้งชั่งใจ ซึ่งคำสอนในศาสนาอิสลามประกอบด้วยศรัทธาที่เรียบง่าย มีเหตุมีผล สอนให้มนุษย์ชำระล้างจิตให้สะอาดบริสุทธิ์ รักสันติสุข มีเมตตาต่อกัน เป็นต้น
ศาสนาคริสต์ สอนหลักธรรมเรื่องหลักบัญญัติ 10 ป ระการ เช่น สอนให้นับถือบิดามารดา อย่าฆ่าคน อย่างล่วงประเวณี อย่าคิดโลภ เป็นต้น สอนเรื่องหลักความรัก เช่น จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตัวเราเอง เป็นต้น ศาสนาคริสต์สอนให้บุคคลมีจิตสำนึกอันบริสุทธิ์หลีกเลี่ยงอบายมุขไม่ทำบาป ไม่โกรธ และเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นต้น
ศาสนาฮินดู สอนหลักธรรมเรื่องอาศรม 4 เพื่อเป็นแนวทางดำเนินชีวิต ได้แก่ พรหมจารี (การศึกษาและแสวงหาความรู้) คฤหัสถ์ (หลักการครองเรือน) วานปรัสถ์ (การศึกษา สันยาสี (การออกบวชเพื่อหลุดพ้น) ศาสนาฮินดูสอนให้รักสันติภาพไม่ใช้ความรุนแรง ไม่ทำร้ายกัน ให้กระทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อเพื่อมนุษย์ เป็นต้น
ศาสนาสิกข์ สอนหลักธรรมเรื่องวิญญาณเป็นอมตะนิรันดร ถ้าบุคคลใดต้องการหลุดพ้นจากความทุกข์และไม่เวียนว่ายตายเกิดอีก ก็ต้องชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์ และสอนว่ามนุษย์ทุกคนมีความเสมอภาคกัน เป็นต้น
จะเห็นว่าศาสนาทุกศาสนามีหลักคำสอนที่เป็นแนวเดียวกันคือ ต้องการให้ทุกคนเป็นคนดี ทำแต่สิ่งดีงาม แสวงหาสันติสุข รักความสงบ ดังนั้นไม่ว่าใครจะนับถือศาสนาใดก็ตามสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
การเป็นพลเมืองดีตามวิถึประชาธิปไตย
ความคล้ายคลึงกันของวิถีประชาธิปไตยในสังคมไทยและสังคมโลก
วิถีประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่สังคมโลกส่วนใหญ่ให้การยอมรับ โดยยึดหลักว่าเป็นการปกครองเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน ยึดถือประชาชนเป็นใหญ่ สังคมประชาธิปไตยในแต่ละประเทศจึงมีความคล้ายคลึงกัน เช่น
1. การยอมรับเสียงส่วนใหญ่และเคารพเสียงส่วนน้อย โดยมีหลักการว่า ความคิดเห็นของคนในสังคมย่อมแตกต่างกัน เมื่อมีการแสดงความคิดเห็นแล้ว จะต้องยอมรับมติของเสียงส่วนใหญ่ที่มีพื้นฐานของเหตุและผล ขณะเดียวกันก็ยอมรับเสียงส่วนน้อย โดยไม่มองว่าเป็นความคิดเห็นที่ไม่ถูกต้องหรือมองเห็นเป็นข้อขัดแย้ง
2. การมีเสรีภาพในการแสดงออกทางด้านต่าง ๆ เช่น แสดงความคิดเห็น การเขียน การพูด การพิมพ์ การชุมนุมประท้วง เป้ฯต้น โดยการแสดงออกเหล่านี้ต้องมีความชอบธรรม เพื่อประโยชน์และความมั่นคงของประเทศเป็นหลัก
3. เคารพในสิทธิและเสรีภาพของบุคคลในทางชอบธรรม โดยมีหลักการว่า บุคคลในสังคมประชาธิปไตยต้องเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ปฏิบัติต่อกันอย่างเสมอภาพโดยไม่เลือกเชื้อชาติ ภาษา เพศหรือสภาพทางกาย
4. การเข้าไปมีส่วนร่วมในสังคม บุคคลในสังคมประชาธิปไตยควรมีส่วนร่วมในสังคมอย่างชอบธรรม เช่น การคุ้มครอง ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การออกเสียงเลือกตั้ง การออกเสียงประชามติ การติดตามและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล เป็นต้น
5. การยึดมั่นในหลักเหตุผล คือ การแก้ไขปัญหาหรือหารือข้อสรุปในประเด็นต่าง ๆ ต้องยึดหลักเหตุผลโดยชอบธรรมเป้ฯเกณฑ์ในการตัดสินใจเสมอ
6. การระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี เมื่อมีข้อขัดแย้งเกิดขึ้น จะใช้กติกาของสังคมในรูปวิถีประชา จารีตประเพณี กฎหมาย มาตัดสินโดยไม่ใช้ความรุนแรง
7. การเคารพในหลักอธิปไตยของรัฐ คือ การไม่กดขี่และเอารัดเอาเปรียบรัฐอื่น ไม่คุกคามรัฐอื่นโดยใช้กำลัง ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน หลีกเลี่ยงการทำสงครามและการทำลายล้างโดยใช้อาวุธสงครามทุกรูปแบบ
หลักการเหล่านี้เป็นบรรทัดฐานที่ประเทศที่ปกครองตามระบอบประชาธิปไตยส่วนใหญ่ยึดถือเป็นแนวเดียวกัน
วิถีประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่สังคมโลกส่วนใหญ่ให้การยอมรับ โดยยึดหลักว่าเป็นการปกครองเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน ยึดถือประชาชนเป็นใหญ่ สังคมประชาธิปไตยในแต่ละประเทศจึงมีความคล้ายคลึงกัน เช่น
1. การยอมรับเสียงส่วนใหญ่และเคารพเสียงส่วนน้อย โดยมีหลักการว่า ความคิดเห็นของคนในสังคมย่อมแตกต่างกัน เมื่อมีการแสดงความคิดเห็นแล้ว จะต้องยอมรับมติของเสียงส่วนใหญ่ที่มีพื้นฐานของเหตุและผล ขณะเดียวกันก็ยอมรับเสียงส่วนน้อย โดยไม่มองว่าเป็นความคิดเห็นที่ไม่ถูกต้องหรือมองเห็นเป็นข้อขัดแย้ง
2. การมีเสรีภาพในการแสดงออกทางด้านต่าง ๆ เช่น แสดงความคิดเห็น การเขียน การพูด การพิมพ์ การชุมนุมประท้วง เป้ฯต้น โดยการแสดงออกเหล่านี้ต้องมีความชอบธรรม เพื่อประโยชน์และความมั่นคงของประเทศเป็นหลัก
3. เคารพในสิทธิและเสรีภาพของบุคคลในทางชอบธรรม โดยมีหลักการว่า บุคคลในสังคมประชาธิปไตยต้องเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ปฏิบัติต่อกันอย่างเสมอภาพโดยไม่เลือกเชื้อชาติ ภาษา เพศหรือสภาพทางกาย
4. การเข้าไปมีส่วนร่วมในสังคม บุคคลในสังคมประชาธิปไตยควรมีส่วนร่วมในสังคมอย่างชอบธรรม เช่น การคุ้มครอง ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การออกเสียงเลือกตั้ง การออกเสียงประชามติ การติดตามและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล เป็นต้น
5. การยึดมั่นในหลักเหตุผล คือ การแก้ไขปัญหาหรือหารือข้อสรุปในประเด็นต่าง ๆ ต้องยึดหลักเหตุผลโดยชอบธรรมเป้ฯเกณฑ์ในการตัดสินใจเสมอ
6. การระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี เมื่อมีข้อขัดแย้งเกิดขึ้น จะใช้กติกาของสังคมในรูปวิถีประชา จารีตประเพณี กฎหมาย มาตัดสินโดยไม่ใช้ความรุนแรง
7. การเคารพในหลักอธิปไตยของรัฐ คือ การไม่กดขี่และเอารัดเอาเปรียบรัฐอื่น ไม่คุกคามรัฐอื่นโดยใช้กำลัง ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน หลีกเลี่ยงการทำสงครามและการทำลายล้างโดยใช้อาวุธสงครามทุกรูปแบบ
หลักการเหล่านี้เป็นบรรทัดฐานที่ประเทศที่ปกครองตามระบอบประชาธิปไตยส่วนใหญ่ยึดถือเป็นแนวเดียวกัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)